ฝ้า กระ ปัญหาผิวที่สาวๆ พบเจอได้บ่อย จึงต้องรู้จักและหลีกเลี่ยง

Article Read Duration 8 min read
กระ และฝ้าเรื่องยากของปัญหาผิว ปัญหารอยคล้ำบนผิวหน้าเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในสุภาพสตรี โดยเฉพาะการเกิดกระและฝ้าบนใบหน้า ทำให้ผู้ที่ประสบปัญหาดังกล่าวเกิดความกังวลใจ ร่วมกับค่านิยมในสังคมที่ชอบลักษณะใบหน้าขาวใส ปราศจากจุดด่างดำ ทำให้ผู้ที่ประสบปัญหาดังกล่าวพยายามหาทางแก้ไขด้วยวิธีต่างๆ มีทั้งที่ได้ผล และไม่ได้ผล บางคนโชคร้าย เพราะนอกจากรักษาไม่ได้ผลแล้วยังเกิดอาการข้างเคียงทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิม ดังนั้นเราจึงควรทำความรู้จักกับปัญหาทั้งสองอย่างให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจทำการรักษา กระ และ ฝ้า คืออะไร กระและฝ้าเกิดจากการที่มีเม็ดสีเมลานิน (Melanin Pigment) สะสมในผิวหนังมากผิดปกติทำให้เกิดผิวหนังอักเสบเป็นผื่นสีน้ำตาลเป็นรอยคล้ำ อย่างไรก็ตามผื่นทั้งสองจะมีลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้ • กระมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดมักเล็กกว่า 0.5 ซม. พบกระจายอยู่บริเวณใบหน้า และผิวหนังที่ถูกแสงแดดเป็นประจำ เชื่อว่าอาจมีสาเหตุจากพันธุกรรมร่วมด้วย เริ่มพบได้ตั้งแต่วัยเด็ก จากนั้นจะค่อยๆ มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และสีเข้มขึ้น • ฝ้าพบบ่อยในสุภาพสตรีวัยกลางคน มีลักษณะเป็นผื่นสีน้ำตาล พบบริเวณแก้ม จมูก หน้าผาก เหนือริมฝีปากด้านบน และคาง ผื่นมักมีสีคล้ำขึ้นเมื่อถูกแสงแดด เราสามารถแบ่งชนิดของฝ้าได้เป็น 3 ชนิด 1. ฝ้าที่เกิดในบริเวณหนังกำพร้า มีลักษณะเป็นผื่นสีน้ำตาลเข้ม สามารถมองเห็นได้ชัด ฝ้าชนิดนี้ค่อนข้างตอบสนองดีต่อการรักษา เนื่องจากเม็ดสีเมลานินอยู่ไม่ลึกในผิวหนังจึงง่ายต่อการกำจัด 2. ฝ้าที่อยู่ในชั้นหนังแท้ ผื่นฝ้าจะเป็นสีน้ำตาลผสมสีเทาเข้ม ขอบเขตจะเห็นไม่ชัดเจนเนื่องจากเม็ดสีเมลานินอยู่ในระดับที่ลึกมากขึ้น มีผลทำให้รักษาค่อนข้างยาก ตอบสนองไม่ดีต่อการรักษา 3. ชนิดผสม มีเม็ดสีเมลานินสะสมมากผิดปกติทั้งในชั้นหนังแท้ และหนังกำพร้า การแยกชนิดของฝ้านั้นจะมีประโยชน์ต่อการรักษา ทำให้สามารถประเมินได้ว่าจะรักษาได้ผลดีมากน้อยเพียงใด
อย่างไรก็ตามการตรวจด้วยสายตาอาจมีข้อจำกัด บางครั้งอาจต้องใช้กล้องแสงอัลตราไวโอเลต (UV Camera) ช่วยในการจำแนกชนิดของฝ้า สาเหตุการเกิด สาเหตุของการเกิดฝ้านั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ ชัด แต่เชื่อว่าน่าจะมีปัจจัยหลายอย่างร่วมกันได้แก่ แสงแดด ฮอร์โมน ยา การแพ้เครื่องสำอาง ตลอดจนพันธุกรรม • แสงแดดมีส่วนประกอบของรังสีอัลตราไวโอเลตชนิด A (UVA) และชนิด B (UVB) รังสีทั้งสองชนิดเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ฝ้าเป็นมากขึ้น • ฮอร์โมน เชื่อว่าฮอร์โมนเพศชนิดเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) มีผลทำให้เกิดฝ้า โดยสังเกตพบว่าฝ้าจะเป็นมากขึ้นในสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือสตรีที่ ตั้งครรภ์ และฝ้ามักจะจางลงภายหลังหยุดยาคุมกำเนิดหรือหลัง
คลอดบุตร • การแพ้เครื่องสำอางอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดฝ้าได้ โดยเฉพาะการแพ้น้ำหอม หรือสีที่ผสมอยู่ในเครื่องสำอางนั้นๆ การรักษา สำหรับการรักษากระและฝ้านั้นจะต้องทำความเข้าใจกับผู้ที่ประสบปัญหาเสียก่อนว่า ส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทั้งนี้เพราะเราไม่ทราบสาเหตุต้นกำเนิดที่แท้จริง การรักษามุ่งเน้นหลักสำคัญ 2 ประการคือ • หลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัจจัยที่จะมากระตุ้นให้กระหรือฝ้าเป็นมากขึ้น • การพยายามรักษาให้รอยคล้ำนั้นจางลง ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมกำเนิด หรือยาอื่นๆ ที่อาจทำให้รอยคล้ำนั้นเป็นมากขึ้น