แนะนำวิธีใช้เซรั่มลดสิว เซรั่มลดรอยสิว ให้เห็นผลจริง และทรงประสิทธิภาพ จากเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ

Article Read Duration 5 min read

เซรั่มลดสิว ผิวต้องการหรือไม่? คงไม่มีปัญหาไหนที่กวนใจมากไปกว่าปัญหาสิวอีกแล้ว เพราะใคร ๆ ก็อยากมีผิวหน้าที่เรียบเนียนกระจ่างใส ไกลจากสิวกันทั้งนั้น แต่ด้วยฝุ่น ควัน มลภาวะ และปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องเผชิญในแต่ละวัน จึงทำให้เกิดปัญหาสิวขึ้นมาได้ จึงต้องหาวิธีจำกัดเจ้าสิวตัวร้ายให้พ้นไปจากใบหน้า

การดูแลผิวหน้าให้ห่างไกลจากสิว หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าหากจะกำจัดสิวที่ต้นตอ ต้องทำความสะอาดหน้าให้หมดจด เพื่อลดโอกาสการอุดตันบนผิว ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดสิว แต่การใช้เซรั่มลดรอยสิว ก็เป็นอีก 1 ตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้สิวที่เกิดขึ้นแล้วลดน้อยลงได้ โดยใช้ควบคู่ไปกับการล้างหน้าให้สะอาด

รู้จัก เซรั่มลดสิว คืออะไร และจำเป็นขนาดไหน

เซรั่มลดสิว เป็นผลิตภัณฑ์ช่วยแก้ไขปัญหาสิว ที่มาพร้อมกับส่วนผสมเข้มข้นที่ช่วยบรรเทา ยับยั้ง แก้ไขปัญหาสิวได้ เนื้อเซรั่มจะสามารถซึบซาบเข้าสู่ผิวได้ดีกว่าเนื้อครีมหรือโลชั่น จึงสามารถช่วยแก้ไขปัญหาสิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเซรั่มลดรอยสิว จะเป็นอีก 1 สกินแคร์ที่จำเป็นสำหรับผู้ที่มีปัญหาสิว เพื่อช่วยลดสิว กู้คืนผิวใส

ส่วนผสมสำคัญของเซรั่มลดสิวและลดรอยสิว มีอะไรบ้าง

เซรั่มลดสิว มักมาพร้อมกับส่วนผสมที่เป็นสารเคมีเข้มข้น เพื่อตรงเข้าช่วยจัดการปัญหาสิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่วนผสมสำคัญของเซรั่มลดรอยสิว มีดังนี้

Lipohydroxy Acid

LHA (Lipohydroxy Acid) คือ อนุพันธ์หนึ่งของ SA (Salicylic Acid) สามารถซึมซาบเข้าสู่ผิวได้อย่างล้ำลึก ช่วยสลายสิวอุดตันบนชั้นผิว ผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ ผลัดรอยดำ รอยแดงจากสิว เผยสีผิวสม่ำเสมอขึ้น

SALICYLIC ACID

SA (Salicylic Acid) กรดซาลิไซลิก เอซิด เป็นกรดอ่อน ๆ ที่ใช้ได้ในสกินแคร์ สามารถซึมซาบเข้าสู่ผิวได้อย่างล้ำลึก เพื่อช่วยผลัดเซลล์ผิว ความมันในรูขุมขน สลายสิวอุดตันที่ต้นตอ และลดการสะสมของแบคทีเรีย

GLYCOLIC ACID

GLYCOLID ACID หรือ AHA เป็นกรดผลไม้ ที่มีโมเลกุลเล็กทำให้ซึมซาบเข้าสู่ผิวได้อย่างล้ำลึก ช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วให้หลุดออก พร้อมเผยผิวใหม่ขึ้นมาทดแทนพร้อมทั้งช่วยลดความรุนแรงของสิวอุดตันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

วิตามิน B3

วิตามิน B3 เป็นวิตามินที่มีความเสถียรสูง มีหน้าที่ช่วยซ่อมแซมและฟื้นบำรุงให้เกราะป้องกันความชุ่มชื้นของผิวให้ทำงานได้เต็มที่ เพื่อลดการสูญเสียความชุ่มชื้น อีกทั้งยังช่วยปลอบประโลมผิวบอบบางมีแนวโน้มระคายเคืองง่าย

เซรั่มลดสิว ใช้อย่างไร

เซรั่มลดรอยสิว ใช้หลังจากที่ทำความสะอาดใบหน้า ด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด โดยหยดเซรั่มลงบนใบหน้าปริมาณ 2 -3 หยด ทาเบา ๆ เพื่อให้ซึมเข้าสู่ผิวหน้า เน้นบริเวณที่เป็นสิว และหลังจากนั้นสามารถใช้มอยเจอร์ไรเซอร์ได้ตามที่ต้องการ

ใช้เซรั่มลดรอยสิว ให้เห็นผลดี ควรทาตอนไหน

การใช้เซรั่มลดสิว ให้เห็นผลดี ควรทาในตอนกลางคืน เนื่องจากเซรั่มลดสิว (เซรั่มลดรอยสิว)ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของสารออกฤทธิ์ที่อาจทำให้ผิวแห้งและระคายเคืองได้ หากทาในตอนกลางคืนผิวจะมีเวลาในการฟื้นฟูและซ่อมแซมตัวเองได้ดีกว่า

นอกจากนี้ การใช้เซรั่มลดรอยสิว ในตอนกลางคืนยังช่วยให้สารออกฤทธิ์ในเซรั่มทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากผิวจะมีความเข้มข้นของน้ำมันลดลงในตอนกลางคืน ส่งผลให้สารออกฤทธิ์สามารถซึมซาบสู่ผิวได้ดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากใช้เซรั่มลดสิว ที่มีส่วนผสมของสารออกฤทธิ์ที่อ่อนโยน เช่น กรดซาลิไซลิก (salicylic acid) ในปริมาณต่ำ สามารถทาได้ทั้งเช้าและเย็น ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล

หากใช้เซรั่มลดรอยสิว แล้วมีอาการระคายเคืองผิว เช่น ผิวแห้ง แดง คัน อักเสบ ควรหยุดใช้และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

คุณสมบัติและเนื้อสัมผัสของเซรั่มลดรอยสิว ที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกใช้

1. ผ่านการทดสอบทดสอบทั้งด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย

ต้องผ่านการทดสอบทดสอบทั้งด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย โดยควรมีการทดสอบกับผู้ที่มีผิวบอบบาง มีแนวโน้มแพ้ระคายเคืองง่าย (Sensitive skin) และทดสอบภายใต้การดูแลของแพทย์ผิวหนัง

2. เป็นสูตรที่มีโอกาสเกิดอาการแพ้ต่ำ

เลือกเซรั่มลดสิว (เซรั่มลดรอยสิว)สูตรที่มีโอกาสเกิดอาการแพ้ต่ำ (Hypoallergenic) และไม่ทำให้อุดตัน (Non-comedogenic) ปราศจากสารก่ออาการระคายเคือง หรืออาจทำให้ผิวอุดตัน เช่น เป็นสูตรปราศจากน้ำมัน (oil-free) ซิลิโคน และสารกันเสียกลุ่มพาราเบน

3. ปราศจากสารสเตียรอยด์

ปัจจุบันพบว่ามีผลิตภัณฑ์ที่แก้ปัญหาผิวที่เห็นผลอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ มักพบว่ามีสารสเตียรอยด์อยู่ในผลิตภัณฑ์ สารสเตียรอยด์มีคุณสมบัติลดการอักเสบที่ดี แต่หากใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจะส่งผลเสียอย่างมากต่อผิว เช่น ทำให้ผิวอ่อนแอ ไวต่อการกระตุ้นต่าง ๆ เนื่องจากภูมิคุ้มกันผิวที่ลดต่ำลง ดังนั้นต้องหลีกเลี่ยงสารสเตียรอยด์ในผลิตภัณฑ์

เทคนิคเลือก เซรั่มลดสิว สำหรับผิวมีแนวโน้มระคายเคืองง่ายอย่างไร ให้เห็นผล โดยเภสัชกร

เทคนิคการเลือกเซรั่มลดรอยสิว สำหรับผิวมีแนวโน้มระคายเคืองง่าย จำเป็นต้องพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
  • ควรหลีกเลี่ยงส่วนผสมที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองง่าย และเลือกส่วนผสมที่เหมาะกับผิวดังกล่าว คือส่วนผสมจำพวก วิตามินซี กรดไฮยาลูรอนิค เซราไมด์ และว่านหางจระเข้
  • ควรเลือกเซรั่มลดสิว ที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ซึ่งเป็นค่า pH ที่ใกล้เคียงกับผิวมากที่สุด และเมื่อใช้ไปแล้ว จะไม่ทำให้เกิดอาการคะคายเคือง
  • การหลีกเลี่ยงการบีบสิว การพักผ่อนให้เพียงพอ และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

แนะนำการเตรียมผิวใช้เซรั่มลดสิว (เซรั่มลดรอยสิว) สยบปัญหาสิวแบบติดสปีด โดยเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ

การใช้เซรั่มลดสิว (เซรั่มลดรอยสิว) ควรมีการเตรียมผิวให้พร้อมรับเนื้อเซรั่ม เพื่อสยบปัญหาสิวได้อย่างรวดเร็ว โดยคำแนะนำจากเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ
  • ทำความสะอาดหน้าอย่างหมดจด เพื่อให้ผิวสะอาดพร้อมรับการบำรุง
  • ใช้โทนเนอร์เพื่อบำรุงผิวในขั้นตอนแรก เพื่อเสริมการทำงานของเซรั่มลดสิว (เซรั่มลดรอยสิว)
  • ใช้เซรั่มลดสิว (เซรั่มลดรอยสิว)ในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อให้เซรั่มทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ใช้มอยส์เจอไรเซอร์ เพื่อเติมความชุ่มชื่นและปลอบประโลมผิว

เภสัชกรหญิงลักษณา ทรัพย์ชูกุล


ประวัติเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ลา โรช-โพเซย์

ประวัติเภสัชกร
เภสัชกรหญิง ลักษณา ทรัพย์ชูกุล
ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์ลา โรช-โพเซย์

วุฒิการศึกษา
  • วิทยาศาตรบัณฑิต และวิทยาศาตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ประวัติการทำงาน
  • ประสบการณ์ด้านเครื่องมือแพทย์ (เครื่องเลเซอร์)
  • ประสบการณ์งานวิจัยการทดสอบทางคลินิกของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
  • ประสบการณ์ด้านผลิตภัณฑ์เวชสำอางมากกว่า 10 ปี

แนะนำ 3 ขั้นตอนของการดูแลผิวง่าย ๆ จาก LA ROCHE-POSAY

การดูแลและแก้ปัญหาเพื่อผิวสวยสุขภาพดี ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก ๆ 3 ขั้นตอนได้แก่

1.ขั้นตอนทำความสะอาด คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ดี

ในขั้นตอนทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ต้องสามารถทำความสะอาดทั้งสิ่งสกปรกที่ละลายน้ำได้ (เครื่องสำอางสูตรไม่กันน้ำ) และสิ่งสกปรกที่ละลายในน้ำมัน (เครื่องสำอางสูตรกันน้ำ) ไม่ทิ้งสารตกค้างบนผิว และเป็นสูตรอ่อนโยน ที่มีค่า pH ใกล้เคียงกับผิว (Physiological pH)

2. ขั้นตอนการบำรุง

สำหรับขั้นตอนบำรุงผิว แบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอนย่อยตามลำดับการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาสิว เป็นปัญหาผิวอันดับหนึ่ง ก็จำเป็นต้องใช้ครบทั้ง 3 ขั้นตอนหลัก โดยเฉพาะขั้นตอนการบำรุงมีความสำคัญมากสำหรับปัญหาสิว โดยอาจแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนย่อยกับกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเด่นแตกต่างกัน

1. ขั้นตอนการแก้ปัญหาผิว ด้วยผลิตภัณฑ์เซรั่ม (Serum) หรือเอสเซนส์ (Essence)

เซรั่มหรือเอสเซนส์ คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีสารสำคัญในความเข้มข้นที่สูง มักมีความเข้มข้นที่สูงกว่าที่มีอยู่ในมอยซ์เจอไรเซอร์ เพื่อเน้นการออกฤทธิ์ในการแก้ปัญหาผิวนั้น ๆ เดิมคำว่า “เอสเซนส์” จะใช้เรียกผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อบางเบากว่าแต่ปัจจุบันพบว่าการเรียกผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้มข้นสูงหวังผลในการแก้ปัญหาผิว มักจะเลือกเรียกแตกต่างกันไปตามผู้ผลิต

เซรั่มหรือเอสเซนส์ อาจไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับปัญหาผิวริ้วรอย และจุดด่างดำ แต่สำหรับปัญหาสิว เซรั่มลดสิว (เซรั่มลดรอยสิว)ก็ยังเป็นสิ่งที่หลายคนยังไม่คุ้นเคย และไม่แน่ใจว่ามีความจำเป็นในการดูแลรักษาสิวหรือไม่ ตามนิยามของ “เซรั่มลดสิว (เซรั่มลดรอยสิว)” ก็น่าจะหมายความถึง ผลิตภัณฑ์ที่เน้นการทำงานในการแก้ปัญหาสิว ด้วยการมีสารสำคัญในการแก้ปัญหาสิวในปริมาณที่เข้มข้น ซึ่งมักจะเป็นสารสำคัญที่มีกลไกการทำงานที่ 4 สาเหตุหลักของการเกิดสิว ได้แก่
  • สารช่วยการผลัดเซลล์ผิว เพื่อลดการอุดตันจากการแบ่งเซลล์ผิวผิดปกติ
  • สารช่วยลดการผลิตน้ำมัน
  • สารช่วยลดอาการอักเสบ
  • สารช่วยลดเชื้อแบคทีเรีย หรือช่วยปรับสมดุลไมโครไบโอมบนผิว
ขอแนะนำ La Roche-Posay Effaclar Serum เซรั่มที่ช่วยจัดการปัญหาสิวอุดตันที่ต้นตอ ช่วยผสานพลังจาก 3 โมเลกุล ที่ได้รับแรงดันบาลใจทางการแพทย์เพื่อจัดการปัญหาสิว ช่วยสลายสิวอุดตัน แถมยังช่วยลดรอยที่เกิดจากสิวได้จริง เหมาะสำหรับผิวที่มีแนวโน้มเป็นสิวง่าย ใช้ในตอนกลางคืน เพียงทาเซรั่มบาง ๆ ทั่วบริเวณผิวหน้า ควบคู่กับการใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่า SPF 20 ขึ้นไปในช่วงเช้าเพื่อปกป้องไม่ให้ผิวเกิดปัญหาจากแสงแดด

2. ขั้นตอนการคืนความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ด้วยผลิตภัณฑ์มอยซ์เจอไรเซอร์

มอยซ์เจอไรเซอร์ คือ ผลิตภัณฑ์ที่มอบความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ความชุ่มชื้นเป็นพื้นฐานสำคัญในองค์ประกอบผิว แม้ว่าคนที่เป็นสิวมักจะมีผิวมัน แต่ก็อาจขาดความชุ่มชื้นในผิวได้เช่นกัน ดังนั้นมอยซ์เจอไรเซอร์ก็เป็นขั้นตอนการบำรุงที่จำเป็นสำหรับคนเป็นสิวเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ความชุ่มชื้นในผิวยังสามารถช่วยเพิ่มสมดุลน้ำและน้ำมันในผิว โดยไปช่วยลดความมันส่วนเกินบนผิวได้ด้วยหากผิวมีความชุ่มชื้นที่ดี

หากไม่ได้มีปัญหาผิวใด ๆ สามารถใช้เพียง “มอยซ์เจอไรเซอร์” ในขั้นตอนการบำรุง เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นคืนสู่ผิว แต่หากมีปัญหาผิว “เซรั่ม” จะเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นในการแก้ปัญหาผิวอย่างมีประสิทธิภาพ และเห็นผลได้เร็วมากขึ้น

3.ขั้นตอนการปกป้องด้วยผลิตภัณฑ์กันแดด

กันแดดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันการเกิดริ้วรอยและจุดด่างดำที่ดีที่สุด ที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการปกป้องผิว รวมถึงปัญหาสิว โดยผลิตภัณฑ์กันแดดสามารถป้องกันรังสียูวีที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาสิวได้ โดยเข้าไปช่วยยับยั้งการทำงาน ต่อไปนี้
  • การผลิตน้ำมันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งน้ำมันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดสิว
  • การเพิ่มปริมาณของอนุมูลอิสระที่จะมาทำร้ายผิว
  • การผลิตเม็ดสี ที่ส่งผลให้รอยสิวเข้มมากขึ้น

สรุป

การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับการดูแลรักษาหรือแก้ปัญหาสิว ต้องพิจารณาปัจจัยการใช้ยารักษาสิวร่วมด้วย โดยหากใช้ยารักษาสิว เซรั่มสำหรับปัญหาสิวอาจไม่จำเป็นเท่ากับมอยซ์เจอไรเซอร์ เพราะมอยซ์เจอไรเซอร์นอกจากช่วยเสริมความชุ่มชื้นให้แก่ผิวได้แล้ว ยังมีอีกหน้าที่สำคัญมากกว่าในกรณีที่ใช้ยารักษาสิว คือ การช่วยลดอาการข้างเคียง เช่น อาการระคายเคือง แสบ แห้ง แดง ลอก ที่มาจากการใช้ยารักษาสิว ซึ่งมักพบอาการเหล่าจากการใช้ยารักษาสิวหลาย ๆ ชนิด

ดังนั้น การใช้ยารักษาสิวจำเป็นต้องใช้มอยซ์เจอไรเซอร์ร่วมด้วยเสมอ โดยคาดหวังผลในเรื่องของ
  • การลดอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยารักษาสิว
  • การช่วยลดปัญหาสิว
  • การช่วยลดสิวเกิดซ้ำ โดยเฉพาะหลังการหยุดใช้ยารักษาสิว แล้วใช้เพียงมอยซ์เจอไรเซอร์ในการดูแลสิว ปัญหาสิวก็จะไม่กลับมา
หากไม่ได้ใช้ยารักษาสิว จำเป็นต้องใช้ “เซรั่มลดสิว (เซรั่มลดรอยสิว)” เพื่อการแก้ปัญหาสิวอย่างมีประสิทธิที่ดีกว่า เห็นผลที่ชัดเจนและรวดเร็วมากกว่า โดยต้องใช้ร่วมกับมอยซ์เจอไรเซอร์เช่นเดิม อาจกล่าวได้ว่ากรณีที่ไม่ได้ใช้ยารักษาสิว อาจจะมาด้วยเหตุผลของอาการข้างเคียงจากการใช้ยา แสบ แดง แห้ง ลอก ระคายเคืองที่มีหลายคนทนไปต่อไม่ไหวจนต้องหยุดการใช้ยารักษาสิวไป แต่ปัญหาสิวก็ยังต้องแก้ไข ดังนั้นเซรั่มลดสิว (เซรั่มลดรอยสิว)จึงเปรียบเสมือนเป็นความหวังของคนเหล่านี้

________________________________________________________________________________________

References:
  1. Araviiskaia et al. JEADV 2016;30:926-35.
  2. healthline