แนะนำกันแดดคุมมัน พร้อมบอกความสำคัญของการทากันแดดตลอดปี

Article Read Duration 7 min read

Title Chapo

          เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศว่าประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูหนาว อย่างเป็นทางการแล้ว ทุกคนคงรู้สึกได้ว่าฤดูหนาวเป็นฤดูที่แสงแดดแจ่มจ้ากระจ่างร้อนแรงเป็นพิเศษ แม้จะไม่รู้สึกว่าโดนแผดเผาเหมือนแสงแดดเปรี้ยง ๆ ในฤดูร้อน แต่เนื่องด้วยสภาพอากาศที่ปลอดโปร่ง ท้องฟ้าแจ่มใสของฤดูหนาวส่งผลให้รังสีของยูวีเอสามารถผ่านก้อนเมฆ หากเราอยู่ภายนอกอาคาร รังสียูวีเอก็จะผ่านเข้าไปสู่ผิวของเรา เข้าสู่กระบวนการทำร้ายอย่างสุดกำลัง แบบที่ไม่มีสิ่งใดมาหยุดกั้นเอาไว้ได้ หากใครที่จะใช้แสงแดดเพื่อช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกายก็ไม่ควรมองข้ามความสำคัญในการปกป้องผิวจากรังสียูวีเอที่มีปริมาณสูงถึง 95% ของปริมาณรังสียูวีทั้งหมดในแสงแดดด้วย1

          นอกจากนี้ในฤดูหนาวที่อากาศค่อนข้างแห้ง ส่งผลให้ผิวหนังของเราแห้ง ขาดความชุ่มชื้น หรือในบางคนอาจส่งผลให้ผิวอ่อนแอ มีแนวโน้มระคายเคืองง่ายขึ้น หรือไวต่อการกระตุ้นของแสงแดด ส่งผลให้เกิดการกำเริบของโรคบางโรคได้ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันผิว เนื่องจากรังสียูวีเอส่งผลต่อภูมิคุ้มกันผิว ทำให้เกิดการกำเริบทางผิวหนังทั้งอาการแพ้แสงแดด อาจเกิดผื่น ผดขึ้นได้เมื่อเผชิญกับแสงแดด

         อีกหนึ่งปัญหาสำคัญสำหรับพี่น้องชาวไทยที่มีแนวโน้มพบมากขึ้นในช่วงฤดู ที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายที่อาจนำไปสู่โรคมะเร็ง และยังพบว่าส่งผลต่อผิวหนังด้วยเช่นเดียวกัน “มลภาวะทางอากาศ (Air Pollution)” โดยเฉพาะฝุ่นละอองจิ๋ว PM2.5 (Particulate matter 2.5) คือขนาดอนุภาคของของแข็งที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ฝุ่นจิ๋วที่มีขนาดเล็กมากๆ สามารถแทรกซึมลงสู่ผิว กระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระที่ส่งผลต่อปัญหาผิวตามมา2,3 ได้แก่

  • ปัญหาสิว เพราะอนุมูลอิสระสามารถกระตุ้นให้มีการผลิตน้ำมันในผิวเพิ่มมากขึ้น และยังกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ส่งผลให้เกิดปัญหาสิวได้4
  • ผิวแห้ง เพราะอนุมูลอิสระไปทำลายปราการผิวทำให้เกิดการสูญเสียน้ำออกจากผิวเพิ่มมากขึ้น
  • ผิวบอบบาง-ระคายเคืองง่าย อนุมูลอิสระยังสามารถกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเซลล์ผิวได้ง่ายขึ้น และปราการผิวที่ถูกทำร้ายส่งผลโดยตรงทำให้ผิวบอบบาง มีแนวโน้มแพ้ง่ายขึ้น
  • ฝ้า กระ จุดด่างดำ อนุมูลอิสระยังสามารถกระตุ้นให้มีการผลิตเม็ดสี (Melanin) เพิ่มมากขึ้น

         ปัญหาผิวเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัย และเราอาจต้องเผชิญกับปัญหาผิวที่แตกต่างกันไปในแต่ละฤดูกาลด้วย ดังนั้นอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนการดูแลผิวตามปัญหาผิวที่ประสบพบเจอ แต่หนึ่งขั้นตอนสำคัญที่ไม่ว่าจะมีปัญหาผิวอะไร ในช่วงวัยใด หรือฤดูไหนๆ คือการปกป้องผิวด้วยผลิตภัณฑ์กันแดดคุมมัน “สิบบำรุงไม่เท่าหนึ่งกันแดด” นี่คือคำพูดที่เปรียบเปรยได้เป็นอย่างดีให้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกันที่ทำได้ง่ายกว่าและเห็นผลชัดทั้งในระยะสั้น และยาว กับการป้องกันปัญหาผิวด้วยผลิตภัณฑ์กันแดด

การเลือกผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับฤดูหนาว


เลือกผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีประสิทธิภาพสูง

          เลือกผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีประสิทธิภาพสูงในการปกป้อง พิจารณาที่ค่าการปกป้อง SPF30/PA+++ แต่หากกังวลปัญหาริ้วรอยและจุดด่างดำ แนะนำให้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่าการปกป้อง SPF50+/PA++++


ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่าคงตัวต่อแสงแดด (Photostability)

ควรเป็นผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่าคงตัวต่อแสงแดด (Photostability) ที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์กันแดดที่ใช้คงประสิทธิภาพยาวนานตลอดวัน


ทาผลิตภัณฑ์กันแดดในปริมาณที่เหมาะสม

ทาผลิตภัณฑ์กันแดดในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับผิวหน้า และบริเวณลำคอ คือ



ผลิตภัณฑ์กันแดดเนื้อครีม

ผลิตภัณฑ์กันแดดเนื้อครีม 2 ข้อนิ้วชี้ โดยความกว้างของปริมาณคืออย่างน้อย 0.5 เซนติเมตร อาจแบ่งทาที่ความยาวหนึ่งข้อนิ้ว 2 รอบ



ผลิตภัณฑ์กันแดดเนื้อฟลูอิด

ผลิตภัณฑ์กันแดดเนื้อฟลูอิด 2 เหรียญสิบบาท และต้องเขย่าก่อนใช้ เป็นจำนวน 2 รอบ


          หากไม่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดในปริมาณที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ แนะนำให้พิจารณาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีค่าการปกป้องสูงๆ ไม่ใช่แค่ SPF50+/PA++++ แต่ต้องพิจารณาค่า PPD เพิ่มเติม เพราะ ณ ปัจจุบันหลายๆ ผลิตภัณฑ์กันแดดมีประสิทธิภาพการปกป้อง SPF50+/PA++++ แต่ปกป้องได้ดีแตกต่างกันไป เพราะค่า PA (The protection grade of UV A) และ PPD (Persistent Pigment Darkening) คือ ค่าประสิทธิภาพในการป้องกันแสงรังสี UVA แต่ PA เป็น scale กว้าง ซึ่งกันแดดบางอันค่า PA++++ เหมือนกัน แต่จริงๆค่า PPD อาจไม่เท่ากัน

          สรุปคือ “ค่า PPD ยิ่งสูง ยิ่งป้องกันรังสี UVA ได้ดี” ค่า PPD ที่สูง บ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์กันแดดสามารถป้องกันช่วงของรังสีLong-UVA*ได้อย่างมีประสิทธิภาพ *Long-UVA คือ คลื่นที่ทะลุทะลวงผ่านชั้นผิวหนังได้ลึกมาก ส่งผลต่อสีผิวที่คล้ำขึ้น ระดับการทำงาน และโครงสร้างผิว ทำให้ผิวสูญเสียคอลลาเจน อีลาสติน ความยืดหยุ่นลดลง และเกิดริ้วรอยก่อนวัย

          เลือกผลิตภัณฑ์กันแดดตามประเภทผิว เช่นถ้ายังคงมีผิวมันแม้ในฤดูหนาว ควรเลือกผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับผิวมัน เพราะจะผสานสารสำคัญที่ช่วยลดหรือควบคุมความมัน เช่น ซิงค์ (Zinc) บิกซ์แอคทิฟ (Bix’active) แอร์ลิเซียม (Airlicium) หรือหากมีผิวแห้ง ในผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับผู้ที่มีผิวแห้งจะมีสารเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวเพิ่มเติมเข้ามามากกว่าสูตรอื่นๆ

สรุป

          แสงแดดไม่ได้มีแต่โทษ แต่ยังมีมุมดีๆ เช่นเป็นแสงสว่างช่วยในการมองเห็น ในช่วงฤดูหนาวแสงแดดยังช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย และที่สำคัญแสงแดดเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสังเคราะห์วิตามินดีให้กับร่างกาย แต่ควรเลือกเผชิญแสงแดดในช่วงเวลาที่เหมาะสม นั่นคือก่อนเวลา 9.00 น. ประมาณ 10-15 นาทีเป็นประจำในทุกเช้า

          จะช่วยให้ร่างกายของเราได้รับวิตามินดี อย่างเพียงพอ Vitamin D จากแสงแดดจะช่วยร่างกายในการดูดซึมแคลเซียม ป้องกันโรคกระดูกพรุน ทำให้ฟันแข็งแรง และยังช่วยเรื่องการย่อยอาหารได้อีกด้วย แต่หลังจากเวลา 9.00 น. ทุกคนจะต้องใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด แม้ในวันที่คิดว่าไม่มีแดด หรือแม้แต่วันที่ไม่ได้ออกไปเผชิญแสงแดด และวันนี้มีผลิตภัณฑ์กันแดด ANTHELIOS UVMUNE400 INVISIBLE FLUID SPF50+ สามารถช่วยปกป้องผิวของเราได้ครอบคลุมทุกช่วงของรังสียูวี แม้ในช่วงความยาวคลื่นสูงสุดของรังสียูวีเอ ที่เรียกว่าULTRA LONG UVA  (380-400 นาโนเมตร) ด้วยสารกันแดดหนึ่งเดียวในโลก ณ ปัจจุบัน “เม็กโซริล 400 (Mexoryl400)” ที่มาพร้อมกับคุณสมบัติปกป้องผิวจากมลภาวะอีกหนึ่งปัจจัยที่เพิ่มสูงในฤดูหนาว มาเลือกกันแดดที่เหมาะกับผิวเพื่อรับลมหนาวในเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองที่กำลังจะเริ่มขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้า เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแม้ผิวที่บอบบาง แพ้ ระคายเคืองง่าย

REFERENCES:
  1. Battie, C., & Verschoore, M. (2012). Cutaneous solar ultraviolet exposure and clinical aspects of photodamage. Indian journal of dermatology, venereology and leprology, 78 Suppl 1, S9–S14.Leprol. 2012; 78:9-14
  2. Drakaki et al. 2014 doi: 10.3389/fenvs.2014.00011
  3. Krutmann J et al. J Dermatol Sci 2014;76(3):163-8.
  4. Pham DM et al. Int J Cosmet Sci. 2015 Aug;37(4):357-65
  5. http://ozone.tmd.go.th/UV_index.html